![]() |
|||
![]() |
ใครบ้างที่ควรทานอาหารเสริม1. ระบบย่อยอาหารไม่ดี อาหารเสริมเป็นสารอาหารที่จำเป็นที่ร่างสามารถย่อยได้ง่ายกว่าอาหารปกติ2. แพ้อาหาร การงดเว้นไม่รับประทานอาหารบางหมู่ เช่น ในกรณีของคนที่แพ้กลูเตน หรือแลคโตส ซึ่งนั่นก็ หมายความว่าคุณจะสูญเสียแหล่งของอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น ไทอามีน ,ริโบฟลาวีน หรือ แคลเซียม 3. รับประทานผักจากการเพาะปลูกด้วยวิธีต่างกัน วิธีการเพาะปลูกมีอิทธิพลต่อคุณภาพของอาหาร (คุณภาพของดิน,การเตรียมดินก่อนการเพาะปลูก ,การเลือกใช้ชนิดของปุ๋ย, ย่าฆ่าแมลงแบบธรรมชาติ หรือเคมี) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เชอร์เวล คูเปอร์ ได้สาธิตให้เห็นว่า การใช้เทคนิคการเพาะปลูกที่ แตกต่างกัน จะมีผลอย่างมากต่อปริมาณและคุณภาพของ วิตามินในผลิตผล 4. ได้รับอุบัติเหตุและการเจ็บป่วย แผลจากไฟไหม้หรือเกิดจากการอักเสบเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สูญเสีย โปรตีน และสารจำเป็น เช่น วิตามิน และเกลือแร่ การผ่าตัดจะทำให้ร่างกายต้องการสังกะสี วิตามินอี และ สารอาหารที่จะนำไปเสริม กระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อเพิ่มขึ้น การซ่อมแซมกระดูกที่หักจะเป็นไป อย่างเชื่องช้า หากร่างกายมีปริมาณแคลเซี่ยมและวิตามินซีไม่เพียงพอ และในทางกลับกัน กระดูกจะติด กันเร็วขึ้น เมื่อได้รับการเสริม ด้วยวิตามินดังกล่าว เมื่อมีการติดเชื้อ ร่างกายจะต้องการสังกะสี แมกนีเซียม วิตามินบี 5 บี 6 เพิ่มอย่างมาก 5. มีความเครียด ความเครียดเป็นสาเหตุของนิสัยการรับประทานที่ไม่ถูกต้อง รับประทานอาหารผิดเวลาดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปทำให้ระดับสารอาหารลดลง การรับประทานวิตามินและเกลือแร่เสริมจะ ช่วยรักษาระดับของสารอาหารในร่างกายได้ 6. อาการและความเครียดก่อนมีประจำเดือน (P.M.T. – Prementrual tension) หรือ (P.M.S – Pre mentrual syndrome) จากการวิจัยชี้ให้เห็นว่ากว่า 60% ของผู้หญิงทุกข์ทรมาน จากอาการต่าง ๆ ก่อนมี ประจำเดือน เช่น อาการปวดศรีษะหงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย บวมน้ำ (หน้าท้องใหญ่) หน้าอกเหลว หดหู่ เชื่องซึม เครียด อาการเหล่านี้จะหายไปถ้ารับประทานวิตามิน บี 6 เสริม 7. รับประทานยาคุมกำเนิด การรับประทานอาคุมกำเนิด ทำให้การดูดซึมกรดโฟลิคลดลง และเพิ่มความต้อง การวิตามินบี 6 ของร่างกายรวมทั้งวิตามินซี สังกะสี และ ไรโบฟลาวิน 8. มีการตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ ทำให้ร่างกายต้องการสารอาหารมากกว่าปรกติ ทั้งเพื่อความเจริญเติบโตของ ทารก และช่วยให้แม่คลอดง่าย สารอาหารที่ร่างกายต้องการเพิ่มมากขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ ได้แก่ วิตามินกลุ่ม บี โดยเฉพาะ วิตามินบี 1, 2, 3, 6 กรดไฟลิค บี ,12 , วิตามินเอ, ดี, อี และเกลือแร่ เช่น แคลเซี่ยม,เหล็ก,เม็กนีเซียม ,สังกะสี และฟอสฟอรัส เป็นเรื่องที่สมควรอย่างยิ่งที่ต้องปรึกษาแพทย์ให้ กำเนิดสารอาหารที่ร่างกายต้องการระหว่างการตั้งครรภ์ 9. เป็นวัยรุ่น การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของวัยรุ่นในช่วงอายุระหว่าง 13-19 ปีนั้น ทำให้ร่างกายต้องการ สารอาหารเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง ซึ่งสารอาหารเหล่านี้ จะมีผล อย่างมาก ต่อการพัฒนาทาง ด้านร่างกาย ชีวเคมี และการพัฒนาอารมณ์ของกลุ่มวัยนี้ 10. มีการจำกัดอาหาร บางคนรับประทานอาหารแต่เพียงเล็กน้อยแม้ว่าอาจจะไม่มีจุดประสงค์ละลดน้ำหนัก จากการสำรวจทางด้านโภชนาการของสหรัฐอเมริกาพบว่าโดยเฉลี่ยแล้ว ผู้หญิงจะรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ ด้วยการรับประทานอาหารที่ให้ พลังงาน 7,560 กิโลจูลต่อวัน ซึ่งอาหารในระดับนี้มักจะมี ไทอะมีน แคลเซียม และเหล็กอยู่น้อย 11. เป็นนักกีฬา นักกีฬาจะต้องรับประทานอาหารจำนวนมาก และเผชิญกับความเครียดมากพอสมควร ปัจจัย เหล่านี้มีผลกระทบต่อความต้องการ วิตามินกลุ่มบีและซี โดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุเหล็ก พวกเขาเหล่านี้ขาด วิตามินและสารอาหารต่าง ๆ หลายชนิด การสูญเสียเกลือแร่เป็นเรื่องที่พบเสมอในพวกนักกีฬา 12. มีอาการขึ้นกับวิตามินเนื่องจากพันธุกรรม บางคนต้องการวิตามินตัวใดตัวหนึ่ง ในจำนวนมากกว่าคน ธรรมดาทั่วไป คนเหล่านี้จำเป็นต้องรับประทานอาหารวิตามินที่ขาดชนิดนั้นเสริม เพื่อป้องกันการขาด 13. ชีวภาพของแต่ละบุคคล เป็นเรื่องปรกติที่ความต้องการวิตามินและเกลือแร่ในแต่ละวันของแต่ละคน อาจ แตกต่างจากค่าเฉลี่ยที่มีการแนะนำอย่างเป็นทางการได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่มีอาชีพที่ใช้พลังงานสูง เช่น นักกีฬา และผู้ใช้แรงงานซึ่งก็ต้อง พิจารณาถึงน้ำหนักตัวรูปร่างด้วยการรับประทานอาหารประเภท โปรตีนมีผลต่อความต้องการวิตามินบี 6 ของร่างกายและวิตามิน บี 1 มีความเกี่ยวข้องกับประมาณอาหาร ที่ร่างกายได้รับเมื่อคิดเป็นกิโลจูล 14. มีปริมาณสำรองของร่างกายต่ำ ถึงแม้ว่าร่างกายสามารถเก็บสะสมวิตามินบางชนิดเก็บสำรองไว้ใน ร่างกายได้ เช่น วิตามินเอ และอี แต่ยังพบว่ายังมีประชากรที่มีระดับวิตามินเอน้อยจนจัดอยู่ถึงขั้น “เสี่ยง” วิตามินเอเมีความสำคัญต่อการมีสุขภาพดีของผิวพรรณและเยื่อเมือก(รวมทั้งโพรงจมูกและปอดและสายตา) 15.เป็นผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมักจะรับประทานวิตามินและเกลือแร่ในปริมาณที่ต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหล็ก แคลเซียม และสังกะสี มักพบว่ามีการขาดกรดโฟลิคควบคู่ไปกับการขาดวิตามินซี ปริมาณอาหารที่มี กากใยมักจะลดลง พบการขาดวิตามิน บี 2 และวิตามิน บี 6 ด้วยการขาดสารอาหารดังกล่าวอาจมีสาเหตุ จากการที่ประสาทรับรสและกลิ่นเสื่อมลง การหลั่งเอนไซม์ของระบบย่อยอาหารลดลง โรคเรื้อรัง หรืออาจ เป็นเพราะความบกพร่องบางประการของร่างกาย เมื่อท่านทราบแล้วว่า “ใครบ้าง? ที่ต้องการอาหารเสริม” ผู้เลือกบริโภคให้เหมาะสม เพื่อประโยชน์สูงสุด ของผู้ที่มีความต้องการ “อาหารเสริม” และลดค่าใช้จ่ายในกลุ่มที่ไม่จำเป็นต้องได้รับ “อาหารเสริม” รับประทาน อาหารให้ครบ 5 หมู่ได้ดีที่สุด ข้อมูลจากเว็บไซต์ www.popcare.com |
||||||||
![]() |
|||||||||
|
|||||||||