![]() |
|
||
![]() |
สาหร่ายเกลียวทองกับโรคเกาท์กรดนิวคลีอิก เป็นสารชนิดหนึ่งที่พบอยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ประกอบด้วย2 ส่วน คือ DNA (Deoxyribonucleic acid) ซึ่งทำหน้าที่นำพาลักษณะพันธุกรรม ของสิ่งมีชีวิตนั้น และ RNA (Ribonucleic acid) ซึ่งมีหน้าที่สร้างเซลล์ควบคุม การเจริญเติบโต เและการสังเคราะห์สารต่าง ๆ ภายในเซลล์จะเห็นได้ว่า กรดนิวคลีอิกเป็นสารที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตมาก โรคเกาท์ (gout) เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นจาก ความบกพร่องของร่างกายที่ไม่สามารถสลายกรดยูริก ทำให้มี ผลึกกรดยูริกสะสมอยู่ภายในข้อกระดูกซึ่งเป็นสาเหตุของอาการ อักเสบและปวด โดยปกติกรดยูริกถูกกรองออกมาเมื่อเลือดหมุน |
|||||||||
เวียนผ่านไตและถูก ขับถ่ายออกจากร่างกายทางปัสสาวะ โรคเกาท์ มักเป็นที่ข้อใดข้อหนึ่ง ส่วนใหญ่เกิดที่ข้อหัวแม่เท้า | ||||||||||
แต่อาจมีอาการปวดที่ข้อเข่า ข้อมือหรือ ที่ข้อเท้าก็ได้ | ||||||||||
โดยทั่วไปแล้วในสาหร่ายขนาดเล็กจะมีปริมาณกรดนิวคลีอิก ประมาณ 4 - 6% Hills (1980) ได้รายงานผลการ | ||||||||||
วิเคราะห์ของงค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่าสาหร่ายเกลียวทองมี DNA อยู่ 3.5% และมี | ||||||||||
RNA อยู่ 1.0% ในขณะที่ในยีสต์ที่เราใช้ทำเบียร์ หรือขนมปังจะมีอยู่ประมาณ 8 - 12% และแบคทีเรียในอาหารหมักดอง | ||||||||||
จะมีมากที่สุดถึง 20% Henrikson (1989) กล่าวว่าสาหร่ายเกลียวทองมีกรดนิวคลีอิกน้อยกว่าสาหร่ายขนาดเล็กชนิดอื่น | ||||||||||
Protein Advisory Group (PAG) ขององค์การสหประชาชาติได้แนะนำว่า ในการบริโภคกรดนิวคลีอิก จากแหล่งซึ่ง | ||||||||||
มิใช่อาหารปกติ (หมายถึงอาหารเสริมจากสาหร่ายหรืออาหารเสริมอื่น ๆ) ไม่ควรเกินวันละ 2.6 กรัม/วัน ซึ่งปริมาณ | ||||||||||
สาหร่ายเกลียวทองที่แนะนำให้บริโภคคือ 4-8 เม็ด/วัน นั้นเป็นน้ำหนักไม่เกิน 4 กรัม จะมีกรดนิวคลีอิกอยู่เพียง | ||||||||||
0.16 กรัม และปริมาณกรดนิวคลีอิกที่แนะนำนั้นต้องใช้ สาหร่ายเกลียวทอง ขนาด 500 มิลลิกรัมมากกว่า 130 | ||||||||||
เม็ด/วัน จึงจะเกินมาตรฐานดังกล่าว | ||||||||||
Richmond (1986) กล่าวว่าจากการทดลองของ Fiheim (1972) ในประเทศเยอรมันและในประเทศไทยและ Griebsch | ||||||||||
& Zollner (1973) ได้ยืนยันว่าการบริโภคสาหร่ายขนาดเล็กไม่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของกรดยูริกส่วนการทดลองของ Muller – | ||||||||||
Wecker & Kofrany (1980) กลับได้ผลว่าสาหร่ายขนาดเล็กช่วยทำให้กรดยูริกในเลือดลดลง | ||||||||||
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าปริมาณสาหร่ายเกลียวทองที่แนะนำให้บริโภค 4 – 8 เม็ด/วัน หรือ 30 เม็ด/วัน ในกรณีที่ไม่สามารถ | ||||||||||
หาอาหารหลักรับประทานได้นั้นไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือมีผลต่อปริมาณกรดยูริกในเลือดแต่อย่างใด | ||||||||||
![]() |
||||||||||
|
||||||||||